วาเลนไทน์เท่าเทียม: เมื่อความรักห้ามกันไม่ได้ สิทธิเพื่อคนหลากหลายทางเพศจึงต้องถ้วนหน้าเท่าเทียม

อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ


14 กุมภาพันธ์ “วันแห่งความรัก” ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง แต่ดูเหมือนว่า วาเลนไทน์ปีนี้จะไม่ได้ยินข่าวดีเกี่ยวกับการยืนยันสิทธิที่จะมีความรัก มีชีวิตคู่ หรือแม้แต่การสร้างครอบครัวของคนหลากหลายทางเพศ เนื่องจากเป็นที่แน่นอนว่า ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม คงจะไม่ได้เข้าสู่สภาเพื่อพิจารณาวาระ 2 และ 3 ในสมัยสภานี้แน่นอน 


สำหรับคนหลากหลายทางเพศ สิ่งนี้ไม่ใช่สิทธิพิเศษเพิ่มเติมที่เขาจะได้รับ แต่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะถูกนำกลับมาให้ได้รับในฐานะพลเมืองของประเทศไทย จากเดิมที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 ยืนยันว่า ชายและหญิงเท่านั้นที่มีสิทธิสมรสกันได้ แต่กลับไม่รับประกันสิทธิในการสมรสของคู่รักในรูปแบบอื่น

ทั้งหมดสะท้อนถึงเรื่องเกมการเมืองบนพื้นฐานของอคติและความเกลียดกลัวทางเพศ อันสืบเนื่องมาจากความไม่เข้าใจและการส่งทอดมุมมองที่เข้าใจผิดๆ ต่อคนหลากหลายทางเพศมาหลายชั่วอายุคน รวมถึงสังคมไทยเคยชินกับการจัดลำดับชั้นของคน ทำให้เราไม่สามารถมองคนด้วยกันด้วยความเท่าเทียมได้ ขณะที่ภาพลักษณ์ประเทศไทยผ่านการโฆษณาชวนเชื่อบนพื้นที่สื่อทำให้เห็นว่า สังคมไทยเป็นสังคมเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะใคร มาจากไหน มีชาติพันธุ์ สีผิว ศาสนา ลักษณะทางร่ายกาย หรือเพศสภาพเช่นไร ก็สามารถดำเนินชีวิตอยู่ภายในสังคมนี้ได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมเมืองที่ผู้คนดูจะโอบรับคนทุกกลุ่มได้อย่างไม่มีอคติ แต่ทำไมถึงยังสามารถให้สิทธิทุกคนเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเรื่องของ ความรักและการสร้างครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดของสังคม


ค่านิยมที่ทำให้คนมองคนอย่างไม่เท่าเทียมกันนี้ ในมิติเพศอาจเรียกได้ว่าคือ ค่านิยม “ความเป็นชายที่สมบูรณ์แบบ” อันมีที่มาจาก การที่เพศชายมักมีสิทธิเข้าถึงยศถาบรรดาศักดิ์มานับแต่อดีต ทำให้เพศชายกลายเป็นกลุ่มคนที่สามารถกำหนดค่านิยมทางสังคมได้ว่า เพศใดพึงควรประพฤติตนแบบไหน และเป็นการจัดสรรคนลงระบบสองเพศ (Gender Binary System) ไปโดยปริยาย

ระบบสองเพศนี่เอง ที่ยังผลให้คนที่ไม่ได้เพศสภาพเป็นชายจริงหญิงแท้ต้องอยู่ในสถานะทางเพศที่ถูกตั้งคำถามจากคนในสังคม ด้วยความไม่เข้าใจก็นำมาซึ่งอคติและความเกลียดกลัวคนหลากหลายทางเพศจะเข้ามาล่วงละเมิด ทำร้าย ทำลายคุณค่าของคนในระบบสองเพศที่มีอยู่เดิม ผู้ที่กำหนดค่านิยมนี้จึงต้องกดปราบด้วยการพรากสิทธิหลายๆ ประการ และเลือกปฏิบัติเพื่อไม่ให้คนหลากหลายทางเพศเข้าถึงโอกาสในชีวิตด้านต่างๆ

ที่มา: https://twitter.com/BadStudent_


สิ่งที่ Think Forward Center และ พรรคก้าวไกล เห็นตรงกันคือ การสร้างสังคมที่ “คนเท่ากัน” ผ่านการผลักดันให้ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนความหลากหลายทางเพศให้ถูกประกาศใช้ เพื่อคืนสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนกลุ่มนี้กลับมา อาทิ

  1. ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งจะมีผลให้คนหลากหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้โดยไม่ติดเงื่อนไขเดิม รวมถึงการมีสิทธิและอำนาจในสินทรัพย์และพินัยกรรมร่วมกัน
  2. ร่าง พ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ การแสดงออกทางเพศสภาพและคุณลักษณะทางเพศ พ.ศ. … ซึ่งจะมีผลรับรองเพศสภาพของชายหญิงข้ามเพศ (Transgender: F-to-M & M-to-F) กลุ่มคนที่มีภาวะสองเพศ (Intersex) และกลุ่มคนที่ไม่ประสงค์จะอยู่ในระบบสองเพศ (Non-Binary: Gender X) รวมถึงทำให้คำนำหน้าชื่อเป็นเพียงสถานะทางสังคมที่สามารถเปลี่ยนได้
  3. ร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. … ซึ่งจะมีผลให้คนทุกกลุ่มไม่ว่าจะมีชาติพันธุ์ สีผิว ศาสนา ลักษณะทางร่ายกาย หรือเพศสภาพเช่นไร จะต้องได้รับสิทธิ สวัสดิการ การเข้าถึงโอกาสและความเจริญก้าวหน้าของชีวิตในทุกๆ ด้านอย่างเท่าเทียมกัน 


โดย พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จะเป็นปราการด่านแรกที่พรรคก้าวไกลจะเร่งผ่านกฎหมายให้เร็วที่สุด ซึ่ง ส.ส.ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ และ ส.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ พรรคก้าวไกล ยืนยันว่า หากพรรคก้าวไกลได้รับเลือกให้เป็นรัฐบาล จะสามารถมีอำนาจผลักดันร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้ไปต่อไปได้โดยคณะรัฐมนตรี และไม่จำเป็นต้องผ่านการเสนอเรื่องเพื่อขอความคิดเห็นของสภาชุดใหม่ในวันแรกที่มีการประชุม ซึ่งจำเป็นจะต้องรอ 60 วัน เพื่อพิจารณา

และเพื่อการลดอคติที่เกิดจากค่านิยมและบรรทัดฐานที่สังคมไทยคุ้นชินกันมานาน พรรคก้าวไกลจึงเสนอนโยบายเพื่อทำให้คนทุกกลุ่ม ทุกเพศ และทุกวัย ได้รับสิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิการต่างๆ เท่าเทียมกัน โดยเริ่มจาก:


นโยบาย การเมืองไทยก้าวหน้า 

  • การรับรองทุกเพศสภาพ คำนำหน้าตามสมัครใจ
  • สิทธิลาคลอด 180 วัน แบ่งกันได้ทั้งพ่อและแม่
  • เพิ่มให้มีตำรวจหญิงทุกสถานี
  • พระสงฆ์ต้องใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • รัฐต้องจ้างงานคนพิการ 20,000 คน

นโยบาย สวัสดิการไทยก้าวหน้า

  • เด็ก: ของขวัญแรกเกิด 3,000 บาท พร้อมรับเงินอุดหนุน 1,200 บาท/เดือน 0-6 ปี และต้องมีศูนย์เลี้ยงเด็ก/ห้องให้นมใกล้บ้าน-ที่ทำงาน
  • เติบโต: เรียนฟรี อาหารฟรี มีรถรับส่ง พร้อมกับคูปองเปิดโลก และผ้าอนามัยไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน
  • ทำงาน: ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นทุกปี เริ่มทันที 450 บาท/วัน รัฐช่วย SME 6 เดือนแรก พร้อมด้วยสัญญาจ้างเป็นธรรม ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แรงงานทุกกลุ่มตั้งสหภาพ ประกันสังคมถ้วนหน้า และคูปอง Re-skill เสริมทักษะเปลี่ยนอาชีพ ฟรีไม่จำกัด
  • ผู้สูงอายุ: เงินอุดหนุน 3,000 บาท/เดือน และเมื่อเสียชีวิตก็มีค่าทำศพ 10,000 บาท
  • ทุกอายุ: บ้านตั้งตัว 350,000 เรือน น้ำประปาดื่มได้ เติมเงินท้องถิ่นทำขนส่งสาธารณะ เงินอุดหนุนคนพิการ 3,000 บาท/เดือน 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า