ก้าวไกลและความพร้อมรับมือ “เอลนีโญ”

เดชรัต สุขกำเนิด


ปี 2566 นี้เป็นปีที่ประเทศไทยจะต้องกลับมาเผชิญกับปรากฎการณ์ “เอลนีโญ” คือประเทศไทยจะมีฝนน้อยกว่าปกติ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นกว่าปกติประมาณ 1.5 องศา ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566


 ไปจนถึง ต้นปี 2567 ซึ่งอาจจะส่งความเสียหายต่อ (ก) พื้นที่การเกษตรในฤดูฝน 2566 และฤดูแล้ง 2567 (ข) การประปาของชุมชนในหลายพื้นที่ และ (ค) โอกาสเกิดไฟป่าและคลื่นความร้อนในฤดูแล้งปีหน้า 


เพราะฉะนั้น Think Forward Center พรรคก้าวไกล จึงเสนอมาตรการ 8 ข้อ ที่จะรับมือกับปรากฎการณ์เอลนีโญ 2023 เพื่อให้เกิดความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในทันทีที่ได้เป็นรัฐบาล ด้วยมาตรการทั้ง 8 ข้อ ประกอบด้วย


  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้งศูนย์ประสานงาน/บัญชาการรับมือปรากฎการณ์เอลนีโญ 2023 ในทันที



  1. ให้กรมอุตุนิยมวิทยานำเสนอผลการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 1-3 เดือน เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงในการเกิดฝนล่าช้า และฝนทิ้งช่วงในแต่ละตำบล ร่วมถึงข้อเสนอแนะในการปลูกพืช ให้กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ได้รับทราบทุก 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยลดความเสียหายในการปลูกพืชในช่วงฤดูฝน (โดยเฉพาะข้าว)



  1. ร่วมกับกรมชลประทานในการทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน 2566 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนที่อาจจะน้อยลงในปี 2566 เพื่อป้องกันมิให้ภาวะการขาดแคลนน้ำรุนแรงในปี 2567 (ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2558-2559) 



  1. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมแผนสำรอง หากการปลูกข้าวในปี 2566 ได้รับผลกระทบจากฝนล่าช้าและฝนทิ้งช่วง จนบางพื้นที่ไม่สามารถปลูกข้าวนาปีได้ทัน โดยเตรียมมาตรการปลูกข้าวพันธุ์เบา และพืชอื่นๆไว้รองรับ รวมถึง (ก) การประกันผลตอบแทนจากการปลูกพืชนั้น และ (ข) ตรวจสอบสต็อกข้าวในประเทศ (และต่างประเทศ) เพื่อป้องกันสถานการณ์ที่ข้าวสารอาจมีราคาแพงขึ้นจนกระทบกับผู้บริโภค



  1. ให้การประปา/โครงการประปาหมู่บ้านเตรียมความพร้อมเรื่อง แหล่งน้ำดิบในช่วงฤดูแล้งปี 2567 และการปรับปรุงคุณภาพระบบน้ำประปาโดยเร่งด่วน เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำขาดแคลนในฤดูแล้งปี 2567



  1. เร่งกระจายงบประมาณการจัดการน้ำในชุมชนและในไร่นา ในอัตรา  25,000 บาท ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ให้ทันกับการกักเก็บน้ำเพิ่มเติมในช่วงฤดูฝน 2566 โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ เช่น สวนทุเรียน 



  1. จัดเตรียมงบประมาณ 3 ล้านบาท/ตำบล เพื่อใช้ในการจัดการเชื้อเพลิง การทำแนวกันไฟ และการป้องกันไฟป่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับไฟป่า และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่อาจจะมีมากขึ้น



  1. การจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก และคลื่นความร้อนให้พร้อมก่อนฤดูร้อนปี 2567 โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความอ่อนไหวทางด้านสุขภาพ เช่น เด็กเล็กและผู้สูงอายุ


ทั้งนี้ 3 มาตรการแรกจะต้องดำเนินการให้ชัดเจนภายใน 7 วัน จากนั้น จะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมมาตรการที่ 4-6 ภายใน 100 วันแรก และเริ่มดำเนินมาตรการที่ 7-8 ทันทีในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า